HISTORY

The Dhammakaya Movement is one distinct tradition of Theravada Buddhism that has had a pioneering role in establishing Buddhist practice in England since 1954.
The first English Temple was established in Wimbledon, London, April 1999 and a second Temple was set up in Norbury, London, in July 2002
The tradition registered as a non-profit organization under the Dhammakaya International Society of the United Kingdom or DISUK on 16 April 2002 and was granted charitable status on 26 May 2004.
Wishing to secure a more beneficial property to serve the growing interest in 2004 the Brookwood Hospital Chapel at Knaphill was purchased – a building which had been derelict for six years. The run down Chapel was converted and refurbished into a functioning Buddhist centre in 2005 and officially opened by Woking’s Mayor Cllr. Bryan Cross on 28 October 2007. It officially became registered as Wat Phra Dhammakaya London.

The derelict temple. The temple as it is now.

To date the popular Dhammakaya Tradition has seen Temples established in Newcastle, Manchester and Helensburgh in Scotland and a network of local support groups now exists in Doncaster, Sheffield, Scotland and Cyprus for the Manchester Temple. Brighton, Worthing, Cheltenham, Kent, Swindon and Ireland being served by the London Temple. Monks are sent regularly to support English language meditation activities in Europe including Zurich, Geneva and Ireland.

The Temple has been involved with policy-making concerning Buddhism in the UK with participation in TBSUK, NBO, Greenwich Standing Advisory Council on Religious Education, chaplaincy and the SE Buddhist Forum. In 2006 the London Temple was the first Temple to introduce in Europe the Sanam Luang Dhamma studies – a three tier system used throughout Thailand for training in theoretical knowledge about Buddhism.

วัดพระธรรมกายลอนดอน วัดพุทธโบสถ์คริสต์หลังแรกในยุโรป
วัดพระธรรมกายลอนดอน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ในนาม “วัดเจริญภาวนา” เป็นวัดลำดับที่ 3 ของศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมในทวีปยุโรป ต่อจากวัดพระธรรมกายเบเนลักซ์ และวัดพระธรรมกายชวาร์ซวัลด์ในช่วงบุกเบิกนั้น การหาอาคารเพื่อทำเป็นวัดยังไม่ได้กำหนดรูปแบบหรือลักษณะชัดเจนว่าต้องเป็นอย่างไร อีกทั้งทุนทรัพย์ขณะนั้นก็ยังมีไม่มาก พระอาจารย์ที่ดูแลงาน จึงเช่าบ้านเพื่อทำเป็นวัดชั่วคราวอยู่ และได้พยายามหาบ้านจากโฆษณาต่าง ๆ ที่ประกาศขาย กับทั้งติดต่อนายหน้าเพื่อให้หาบ้านที่มีคุณสมบัติพอจะซื้อทำเป็นวัดได้ แต่ส่วนใหญ่เป็นบ้านที่มีจำนวนห้องพักน้อย ขนาดของห้องโถงก็เล็กไป รองรับคนได้ไม่มากใช้เวลาหาอยู่อย่างนี้หลายปี ก็ยังไม่พบสถานที่ที่เหมาะสมสักทีหนึ่ง

จนในปี พ.ศ. 2546 พระเดชพระคุณพระวิเทศภาวนาธรรม (ไวโรจน์ วิโรจโน) เจ้าอาวาสในขณะนั้น มีโอกาสเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วสหราชอาณาจักรมีครั้งหนึ่งได้ไปเยี่ยมโยมที่สก็อตแลนด์ และพบว่ามีโบสถ์คริสต์กลางเมืองที่ถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมทางศาสนา เช่น ทำเป็นร้านอาหาร, บาร์, ที่ปีนเขา,ร้านค้าต่าง ๆ และยังพบอีกว่า โบสถ์คริสต์ในประเทศอังกฤษถูกขายไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นับ 100 โบสถ์ ท่านจึงมีความคิดว่า ถ้าซื้อโบสถ์ทำเป็นวัดน่าจะเหมาะสมกว่า ด้วยลักษณะการใช้งาน จึงได้ช่วยกันหา ว่ามีโบสถ์ที่ไหนขายบ้าง

ในที่สุด ปี พ.ศ. 2547 ก็พบว่ามีประกาศขายโบสถ์คริสต์โบราณอายุกว่า 100 ปีที่ถูกทิ้งร้างมานานถึง 6 ปี อยู่ที่เมือง Knaphill, Woking ซึ่งขณะนั้นเจ้าของหมู่บ้านที่สร้างอยู่รอบโบสถ์พยายามจะขอซื้อมาทำเป็นที่สันทนาการ แต่ทางอำเภอไม่ยินยอมเมื่อหมู่คณะทราบข่าว พระวิเทศภาวนาธรรมจึงได้นำข้อมูลกราบเรียนหลวงพ่อธัมมชโยและหลวงพ่อทัตตชีโวให้ทราบ ท่านรู้สึกทึ่งว่า จะซื้อโบสถ์คริสต์กันเลยหรือ แต่ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา ในที่สุดท่านก็อนุมัติและอนุโมทนาบุญด้วย ทีมงานจึงดำเนินการติดต่อขอซื้อโบสถ์ไป ซึ่งทางอำเภอให้ความสนใจและอนุญาตให้ซื้อทำเป็นวัดพุทธได้ตามต้องการ

จากนั้นจึงพยายามรวบรวมทุนทรัพย์จากทุกทาง จนสามารถซื้อโบสถ์มาทำเป็นวัดพุทธได้สำเร็จ โดยเป็นวัดแห่งแรกในทวีปยุโรปที่ซื้อเป็นการถาวร และยังเป็นโบสถ์คริสต์หลังแรกของยุโรปที่กลายมาเป็นวัดพุทธอีกด้วย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก “วัดเจริญภาวนา” มาเป็น “วัดพระธรรมกายลอนดอน”

หลังจากได้วัดเรียบร้อยแล้ว ได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับร่วมกับจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่มีทั้งคนไทยและคนท้องถิ่นจำนวนมากให้ความสนใจ และมานั่งสมาธิกันต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้และในปีนี้ เป็นวาระมงคลที่โบสถ์คริสต์แห่งนี้ ที่มีพระครูวินัยธรรณภพ โชติลาโภเป็นเจ้าอาวาส จะสถาปนาผูกสีมากำหนดเขตโบสถ์ให้เป็นโบสถ์พุทธที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยมีคณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล ทั้งพระราชาคณะจากประเทศไทย,  ที่อยู่ในสหราชอาณาจักร และจากทั่วยุโรป จะมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง จึงนับเป็นมหากุศลอย่างยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต